Download - เนื้อหา (PDF File)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ภูมิศาสตร์
|
สรุปเนื้อหา
1. สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวเรา ซึ่งมีทั้งสิ่งมีชีวิต และสิ่งที่ไม่มีชีวิต
สิ่งแวดล้อมแบ่งออกได้ 2 ประเภท
1) สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ คือ สิ่งทั้งหลายที่อยู่รอบตัวเราที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้น เช่น ดิน หิน แม่น้ำ ภูเขา
2) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือจัดทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น บ้าน รถยนต์
ความสัมพันธ์ของตำแหน่ง ระยะ ทิศ ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวเรา เช่น บ้าน เพื่อนบ้าน ต้นไม้ ถนน ทุ่งนา โรงเรียน วัด สวน ไร่ ภูเขา แหล่งน้ำ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะตั้งอยู่ในที่ต่าง ๆ รอบ ๆ บ้าน ซึ่งอาจตั้งอยู่ในตำแหน่ง ระยะ ทิศ ที่แตกต่างกันออกไป
ทิศ
การบอกทิศทางช่วยให้เรารู้จักว่า สถานที่หรือสิ่งของต่าง ๆ อยู่ทิศทางใด ทิศสำคัญมี 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก
ในตอนเช้า ถ้าเราหันหน้าไปทางดวงอาทิตย์ ด้านหน้าของเราคือทิศตะวันออก ด้านหลังเป็นทิศตะวันตก ด้านซื้อเป็นทิศเหนือ และด้านขวาเป็นทิศใต้
แผนผัง
แผนผัง คือ ภาพที่ย่อส่วนสิ่งต่าง ๆ เช่น อาคาร หรือสถานที่โดยเขียนลงบนกระดา เพื่อแสดงส่วนต่าง ๆ ของบริเวณนั้น มีลักษณะเป็นภาพที่มองจากด้านบน เช่นแผนผังโรงเรียน
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
กลางวัน กลางคืน เกิดจากการหนุนรอบตัวเองของโลกรอบดวงอาทิตย์ ถ้านของดลกที่หมุนเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นเวลากลางวัน ส่วนด้านที่อยู่ตรงข้ามเป็นเวลากลางคืน ความร้อนที่ได้จากแสงอาทิตย์ทำให้เวลากลางวันมีอากาศร้อนกว่าเวลากลางคืน
ฝน คือ น้ำที่ตกลงมาจากฟ้า โดยเกิดจากเมฆ ซึ่งเป็นละอองน้ำ ที่อยู่รวมตัวกันบนท้องฟ้า เมื่อถูกความเย็นจึงรวมตัวกันจนมีน้ำหนักมากพอที่จะหยดลงมาเป็นหยดน้ำตกสู่พื้นดิน
ลม เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศ บริเวณที่มีลมพัด จะมีอากาศเย็สบายกว่าบริเวณที่ไม่มีลมพัด
2. มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติต่อมนุษย์
ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ล้วนมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งกาย และด้านอาหาร
ที่อยู่อาศัย
การสร้างที่อยู่อาศัยของแต่ละชุมชน จะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม
ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่ม มีฝนตกชุก จึงสร้างบ้านให้มีใต้ถุนสูง เพราะต้องยกขึ้นให้พ้นจากน้ำท่วม
ภาคเหนือ มีอากาศหนาว สภาพพื้นที่เป็นที่ดอน นิยมสร้างบ้านที่ใต้ถุนไม่สูงมากนัก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง นิยมสร้างบ้านมีลักษณะเปิดโล่ง
ภาคใต้ มีฝนตกชุก มีพื้นที่ติดกับชายฝั่ง จึงนิยมสร้างบ้านแบบหลังคาทรงเตี้ย และลาดชัน
การแต่งกาย
ภาคเหนือ นิยมใส่ม่อฮ่อม เสื้อแขนยาว ผ้าถุง เพราะมีอากาศหนาวเย็น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่งกายด้วยผ้าฝ้าย เพราะมีอากาศร้อน
อาหาร
ภาคเหนือ นิยมกินข้าวเหนียว น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล
ภาคใต้ นิยมกินข้าวเจ้า แกงเหลือง แกงไตปลา
ภาคกลาง นิยมกินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก น้ำพริกปลาทู แกเขียวหวาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมกินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ส้มตำ บาล น้ำตก
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมในท้องถิ่นต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ
1) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม ลมพายุ แผ่นดินไหว ภัยแล้ง
2) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
การมีส่วนร่วมในการจัดระเบียบสิ่งแวดล้อมที่บ้าน
1) จัดเก็บของให้เข้าที่ เสื้อผ้าที่ใช้แล้วใส่ในตะกร้า หนังสือเก็บไว้บนชั้นหนังสือ ผ้าห่มเก็บไว้ในห้องนอน จานชามเก็บไว้ในห้องครัว
2) ใช้สิ่งของให้ตรงกับหน้าที่ มีดในครัวใช้สำหรับตัด หรือปอกผัก ผลไม้
การมีส่วนร่วมในการจัดระเบียบสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียน
1) จัดสิ่งของให้เข้าที่ เมื่อใช้แล้ว ควรเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยเพื่อทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดูสบายตา
2) ใช้สิ่งของให้ตรงกับหน้าที่ ไม้กวาดใช้กวาดพื้น ถังขยะใช้ใส่ขยะ ไม่นำมาเล่นกัน ป้ายนิเทศ ใช้ติดผลงาน หรือจัดกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ไม่นำสิ่งที่ไร้สาระมาติด
Download - เนื้อหา (PDF File)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น