Download - เนื้อหา (PDF File)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เศรษฐศาสตร์
|
สรุปเนื้อหา
1. สินค้าและบริการ
สิ่งของต่าง ๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เสื้อผ้า กระดาษ ดินสอ โต๊ะ เก้าอี้ ปากกา ยาสีฟัน ผลิตมาจากทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เราควรใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สินค้าและบริการที่ได้มาโดยไม่ใช้เงิน อาจได้มาจากมีผู้ให้ หรือการแลกมา เช่น โรงเรียนบางแห่งแจกอุปกรณ์การเรียนให้นักเรียน และอาหารกลางวันรับประทานฟรี
สินค้าและบริการที่ต้องใช้เงินซื้อ เช่น ขนม ของเล่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ถุงเท้า รองเท้า
วิธีการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการให้คุ้มค้า
1) ต้องช่วยกันใช้ให้เกิดประโยชน์
2) ประหยัดและคุ้มค่า
3) ถ้าหากสิ่งของใดที่ชำรุดแล้วสามารถซ่อมแซมได้ ควรนำไปซ่อมแซม ไม่ควรซื้อใหม่ในทันที
2. สิ่งของเครื่องใช้ของเรา
ของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน สบู่ ยาสระผม อุปกรณ์การเรียน ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด สมุด
ของใช้ส่วนรวม ที่เรียกว่า สาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์
วิธีการใช้ของส่วนรวม
1) ควรเปิดเครื่องปรับอากาศที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
2) เมื่อเลิกใช้แล้ว ต้องปิดหรือถอดปลั๊กทันที
3) ต้องเปิดก๊อกน้ำทุกครั้งเมื่อใช้เสร็จแล้ว
3. การใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องนำเงินไปซื้ออาหารสิ่งของแลเครื่องใช้ที่จำเป็นหรือต้องการ
รายจ่ายของพ่อแม่ คือ การซื้ออาหาร เสื้อผ้า และของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
รายจ่ายของเรา คือ การซื้ออาหารกลางวัน ขนม อุปกรณ์การเรียน
ประโยชน์ของการใช้จ่ายเงินที่ไม่เกินตัว
1) มีเงินเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น
2) ไม่เป็นหนี้
การออม หมายถึง การเก็บสะสมเงิน หรือสิ่งของที่มีค่าไว้
ประโยชน์ของการออม
1) มีเงินใช้ในยามจำเป็น
2) ทำให้มีเงินออมสะสมมากขึ้น
โทษของการใช้จ่ายเงินเกินตัว
1) เป็นหนี้สิน
2) ไม่มีเงินใช้จ่ายในเวลาจำเป็น
การวางแผนการใช้จ่าย
1) ทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย
2) ซื้อเฉพาะของที่จำเป็น
การทำงานที่สุจริต
การทำงาน คือ การประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้มาใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต การทำงานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การทำงานที่ก่อให้เกิดรายได้ และการทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
1) การทำงานที่ก่อให้เกิดรายได้ หมายถึง การทำงานที่มีรายได้เป็นผลตอบแทน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.1) การทำงานด้านการผลิต เช่น ชาวนาปลูกข้าว ชาวสวนปลูกผลไม้ โรงงานผลิตเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า
1.2) การทำงานด้านบริการ คือ การทำงานที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการ เช่น ช่างตัดผม ช่างตัดเสื้อ พ่อค้า แม่ค้า
2) การทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หมายถึง การทำงานที่ไม่มีรายได้เป็นผลตอบแทน แต่ต้องทำ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน เช็ดโต๊ะ ซักผ้า
การที่ทุกคนทำงานย่อมทำให้เกิดผลดีต่อสังคม ในการดำเนินชีวิตในสังคม ทุกคนต้องแบ่งงานกันทำตามความถนัด และความรู้ความสามารถ การทำงานย่อมได้ผลประโยชน์ตอบแทน
Download - เนื้อหา (PDF File)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น