Download - เนื้อหา (PDF File)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ประวัติศาสตร์
|
สรุปเนื้อหา
1. เวลาและเหตุการณ์
วัน เดือน ปี ทางสุริยคติ
การนับวัน เดือน ปี ทางสุริยคติ เป็นการนับโดยอาศัยตำแหน่งของดวงอาทิตย์เป็นหลัก
เดือนทางสุริยคติ
1) เดือนมกราคม ม.ค. มี 31 วัน
2) เดือนกุมภาพันธ์ ก.พ. มี 28 หรือ 29 วัน
3) เดือนมีนาคม มี.ค. มี 31 วัน
4) เดือนเมษายน เม.ย. มี 30 วัน
5) เดือนพฤษภาคม พ.ค. มี 31 วัน
6) เดือนมิถุนายน มิ.ย. มี 30 วัน
7) เดือนกรกฎาคม ก.ค. มี 31 วัน
8) เดือนสิงหาคม ส.ค. มี 31 วัน
9) เดือนกันยายน ก.ย. มี 30 วัน
10) เดือนตุลาคม ต.ค. มี 31 วัน
11) เดือนพฤศจิกายน พ.ย. มี 30 วัน
12) เดือนธันวาคม ธ.ค. มี 31 วัน
เดือนที่ลงท้ายด้วย คม มี 31 วัน เดือนที่ลงท้ายด้วยยน มี 30 วัน เดือนกุมภาพันธ์ ตามปกติมี 28 วัน และจะมี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี
วัน เดือน ปี ทางจันทรคติ
การนับวัน เดือน ปี ทางจันทรคติ อาศัยตำแหน่งของดวงจันทร์เป็นหลัก
เดือนทางจันทรคติ มี 12 เดือน ได้แก่
1) เดือนอ้าย
2) เดือนยี่
3) เดือน 3
4) เดือน 4
5) เดือน 5
6) เดือน 6
7) เดือน 7
8) เดือน 8
9) เดือน 9
10) เดือน 10
11) เดือน 11
12) เดือน 12
ช่วงเวลา
ตอนเช้า เป็นช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในเวลาเช้า เรียกว่า เกิดขึ้นตอนเช้า
วันนี้ เป็นช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ หรือในปัจจุบัน
ตอนเย็น เป็นช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในเวลาเย็น เรียกว่า เกิดขึ้นตอนเย็น
2. ประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว
ประวัติของตนเอง
ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาของตนเองที่ทุกคนรู้ คือ ชื่อ นามสกุลของตนเอง ชื่อพ่อ ชื่อแม่ จำนวนพี่น้อง
ประวัติครอบครัว
เหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในครอบครัว แต่ละครอบครัวจะมีความแตกต่างกันไป บางครอบครัวมีเรื่องราวที่น่าภาคภูมิใจ บางครอบครัวมีเรื่องน่าตื่นเต้น เหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติของครอบครัวของเรา
การรู้ประวัติความเป็นมาของครอบครัว จะทำให้เรารู้จักและเข้าใจครอบครัวของตนเองดีขึ้น ทำให้เกิดความภาคภูมใจ
3. ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม สิ่งของเครื่องใช้
สภาพแวดล้อมที่เคยเป็นธรรมชาติ กลายเป็นชุมชนแออัด เพราะมีเพื่อนบ้านย้ายถิ่นมากอยู่เพิ่มขึ้น สภาพธรรมชาติถูกเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัย ร้านค้า โรงงาน และถนน
สมัยก่อน
|
สมัยปัจจุบัน
|
ควายไถนา
หม้อดิน
เตาอั้งโล่
ตะเกียง
ลูกคิด
เตารีดถ่าน
|
รถไถ
หม้ออลูมิเนียม
เตาแก๊ส เตาไฟฟ้า
ไฟฟ้า
เครื่องคิดเลข
เตารีดไฟฟ้า
|
สาเหตุและผลการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
1) มีความเจริญทางเทคโนโลยี
2) มีการติดต่อกับชุมชนอื่น
3) มีการตัดถนนหนทาง
4) มีประชาการเพิ่มขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดความสะดวกสบาย แต่ก็ทำให้เกิดผลเสีย เช่น น้ำเน่าเสีย อากาศเป็นพิษ ผู้คนไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
4. ธงชาติไทย และเพลงชาติไทย
ธงชาติไทย มีชื่อว่า ธงไตรรงค์ แปลว่า ธงสามสี มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งออกเป็น 5 แถบ มี 3 สี ได้แก่ สีแดง หมายถึง ชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย เป็นเพลงประจำชาติ เมื่อได้ยินเพลงชาติ เราต้องยืนตรงแสดงความเคารพ
ขณะเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาตอนเช้า เวลา 8.00 น. และเชิญธงชาติลงจากยอดเสาตอนเย็น เวลา 18.00 น. เราต้องยืนตรง และร้องเพลงชาติไทยด้วยความภาคภูมิใจ
พระพุทธรูป เป็นศาสนวัตถุของพระพุทธศาสนา
พระบรมฉายาลักษณ์ (ภาพถ่าย) หรือ พระบรมสาทิสลักษณ์ (ภาพวาด) ของพระมหากษัตริย์
ศาสนา
ศาสนา หมายถึง ลัทธิความเชื่อถืออันมีหลักคำสอนพร้อมทั้งลัทธิตามหลักคำสอนนั้น ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนและเป็นแนวทางให้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง คนไทยส่วนใหญ่ในประเทศไทย นับถือพระพุทธศาสนา วิถีชีวิตของคนไทย จึงมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ
แผนที่ประเทศไทย
ชาติไทย เป็นชาติที่มีดินแดนเป็นของตนเอง และเราสามารถมองเห็นดินแดนของประเทศไทย แผนที่ประเทศไทยมีรูปร่างคล้ายกับขวานโบราณ เมื่อเราดูแผนที่จะทราบว่าประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ
อาหารไทย
อาหารไทย เป็นอาหารสุขภาพ เพราะมีสมุนไพรและเครื่องเทศเป็นส่วนประกอบ เช่น ต้มยำกุ้ง ผัดไทย น้ำพริกปลาทู
ภาษาไทย
ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติของเรา แสดงถึงความเป็นเอกราชของไทย ภาษาไทยมีทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน และตัวเลขไทย
แหล่งวัฒนธรรมในชุมชน
ตลาด เป็นแหล่งซื้อขายสินค้าในชุมชน ตลาดช่วยแสดงวิถีชีวิตของคนในชุมชนได้จากสินค้าที่นำมาวางขาย
พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งรวบรวมผลงานของคนในสมัยก่อน และมีคุณค่าของชุมชน
โบราณสถาน คือ สิ่งก่อสร้างที่สร้างติดอยู่กับพื้นดิน เคลื่อนย้ายไม่ได้ มีอายุมากกว่า 100 ปี
ศาสนสถาน เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม และให้ความรู้ทางศาสนา เช่น วัด มัสยิด โบสถ์คริสต์
สิ่งที่เรารักและภาคภูมิใจใจท้องถิ่น
1) สถานที่สำคัญในท้องถิ่น เช่น อนุสาวรีย์ ศาลหลักเมือง ศาลากลางจังหวัด
2) สิ่งของที่สำคัญในท้องถิ่น เช่น พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก งาช้างดำ จังหวัดน่าน
3) ภาถิ่น เช่น ภาษาถิ่นอีสาน ภาษาถิ่นใต้
4) ประเพณีท้องถิ่น ภาคเหนือ มีประเพณีรดน้ำดำหัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประเพณีบุญบั้งไฟ ภาคใต้มีประเพณีชักพระ
5) วัฒนธรรมในท้องถิ่น คนภาคเหนือนิยมรับประทานข้าวเหนียว คนภาคกลางนิยมปลูกบ้านใต้ถุนสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น