Download - เนื้อหา (PDF File)
ภาษาพาที - บทที่ 10 เพื่อนรู้ใจ
|
หลักภาษาและการใช้ภาษา
ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการผันวรรณยุกต์อักษรสูง ซึ่งมีทั้งหมด 11 ตัว คือ ข ฅ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห เมื่ออักษรเหล่านี้ประสมกับสระ ไม่ว่าจะเป็นสระเสียงสั้นหรือสระเสียงยาว ก็จะมีเสียงวรรณยุกต์กำกับอยู่แล้วทุกคำ ซึ่งเราเรียกกันว่า “พื้นเสียงของคำ” เช่นกัน เช่น
ดังนั้น การผันวรรณยุกต์อักษรสูง ให้นักเรียนศึกษาจากตารางต่อไปนี้
หมู่อักษร
|
เสียงสระ
|
คำ
|
รูป/เสียงวรรณยุกต์
| ||||
สามัญ
|
เอก
|
โท
|
ตรี
|
จัตวา
| |||
อักษรสูง
ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
|
สั้น
|
หะ
|
-
|
หะ
|
ห้ะ
|
-
|
-
|
สุ
|
-
|
สุ
|
สุ้
|
-
|
-
| ||
ยาว
|
ห่อ
|
-
|
ห่อ
|
ห้อ
|
-
|
หอ
| |
ฝ้า
|
-
|
ฝ่า
|
ฝ้า
|
-
|
ฝา
|
การอ่านสะกดคำและแจกลูก
ตัวสะกดในบทเรียน
ตัวสะกด คือ พยัญชนะตัวที่อยู่ท้ายพยางค์ หรือท้ายคำ ในภาษาไทย เรามีพยัญชนะทั้งหมด 44 ตัว ตั้งแต่ ก ถึง ฮ แต่จะมีเพียง 8 เสียง หรือ 8 แม่ เท่านั้นที่ใช้เป็นตัวสะกด ซึ่งได้แก่ แม่กก แม่กด แม่กบ แม่กง แม่กน แม่กม แม่เกย และแม่เกอว
สำหรับในบทเรียนนี้ นักเรียนจะได้รู้จักกับตัวสะกด 2 แม่ (มาตรา) คือ
1) แม่กง ซึ่งมี ง เป็นตัวสะกดเพียงตัวเดียว เช่น ลิง ยุง ดอง เรือง เอียง ฯลฯ
2) แม่กน ซึ่งมี น เป็นตัวสะกด เช่น กิน เดิน นอน โอน เขียน ฯลฯ (แต่นอกจาก น แล้ว แม่กน ยังมี ณ ญ ร ล ฬ รุ เป็นตัวสะกดอีกด้วย เช่น บุญ คุณ กร กล กาฬ เมรุ ฯลฯ)
ส่วนคำในมาตรา แม่ ก กา นั้น เป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด มีเพียง พยัญชนะต้น + สระ + วรรณยุกต์ (ทั้งที่มีรูป และไม่มีรูป) เท่านั้น เช่น ป่า กา ดู ตี บี้ จ๋อ ดุ แปะ ฯลฯ
การอ่านสะกดคำและแจกลูก
คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ให้อ่าน พยัญชนะต้น + สระ + ตัวสะกด --> คำอ่าน ดังนี้
คำที่มีรูปวรรณยุกต์กำกับให้อ่าน พยัญชนะต้น + สระ + ตัวสะกด --> คำ + วรรณยุกต์ --> คำอ่าน ดังนี้
Download - เนื้อหา (PDF File)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น