Download - เนื้อหา (PDF File)
บทที่ 2 พืชและสัตว์รอบตัวเรา
|
สรุปเนื้อหา
1. โครงสร้างภายนอกของพืช
โครงสร้างภายของของพืช ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล แต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
1) ราก ทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ
2) ลำต้น ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และธาตุอาหารจากรากไปยังส่วนต่าง ๆ
3) ใบ ทำหน้าที่สร้างอาหารและหายใจ
4) ดอก ทำหน้าที่สืบพันธุ์
5) ผล ทำหน้าที่ขยายพันธุ์
พืชแต่ละชนิดมีโครงสร้างเหมาะสมกับแหล่งที่พืชขึ้นอยู่ ดังนี้
พืชที่ขึ้นบนบก มีลำต้นและรากหยั่งลึกลงไปในดิน เพื่อยึดลำต้นติดกับดินไม่ให้โค่นล้ม เช่น มะม่วง มะขาม กล้วย อ้อย ข้าว กุหลาบ ชบา กระถิน ฯลฯ
พืชที่ขึ้นในน้ำ มีราก หรือลำต้นที่มีลักษณะช่วยให้ลอยน้ำได้ คือ มีใบพองออก มีก้านใบเป็นโพรงอากาศ มีทุ่นลอยหุ้มลำต้น เช่น บัว ผักตบชวา ผักกระเฉด จอก ฯลฯ
2. โครงสร้างภายนอกของสัตว์
โครงสร้างภายนอกของสัตว์ ได้แก่ ตา หู จมูก ปาก เขา เท้า แต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
1) ตา ทำหน้าที่ในการมองเห็น
2) หู ทำหน้าที่รับฟังเสียง
3) จมูก ทำหน้าที่ดมกลิ่นและหายใจ
4) ปาก ทำหน้าที่กินอาหาร
5) เท้าและขา ทำหน้าที่เคลื่อนไหว
6) ผิวหนัง ทำหน้าที่ห่อหุ้มร่างกาย
สัตว์แต่ละชนิด มีโครงสร้างของร่างกาย เหมาะสมกับแหล่งที่มันอาศัยอยู่ ดังนี้
1) สัตว์ที่อยู่บนบก มีขาและเท้าสำหรับ เดิน วิ่ง กระโดด เช่น ม้า วัว กระต่าย แมว สุนัข สัตว์บางชนิดมีนิ้วช่วยจับอาหาร เช่น ลิง หนู กระรอก สัตว์บางชนิดมีปีกสำหรับบินเคลื่อนที่ในอากาศ เช่น นกต่าง ๆ
2) สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีรูปร่างเพรียว มีครีบช่วยในการว่ายในน้ำ เช่น ปลา กุ้ง
3. การจำแนกพืช
พืชในท้องถิ่นมีทั้งลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำมาจำแนกโดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์
ตัวอย่างเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกพืช
1) ใช้รากเป็นเกณฑ์ เช่น รากฝอย รากแก้ว
· กลุ่มที่ 1 พืชที่มีรากแก้ว ได้แก่ มะม่วง มะเขือ พริก ตำลึก ถั่ว
· กลุ่มที่ 2 พืชที่มีรากฝอย ได้แก่ อ้อย ข้าว ตะไคร้ หญ้า ไผ่
2) ใช้ลำต้นเป็นเกณฑ์ เช่น ลำต้นตั้งตรง ลำต้นเป็นเถาเลื้อย
· กลุ่มที่ 1 พืชที่มีลำต้นตั้งตรง ได้แก่ กุหลาบ ชบา มะพร้าว ไผ่ ข้าวโพด
· กลุ่มที่ 2 พืชที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย ได้กา บวบ ตำลึง ฟักทอง มะระ แตงโม
3) ใช้ใบเป็นเกณฑ์ เช่น ใบเล็ก ใบใหญ่
· กลุ่มที่ 1 พืชที่มีใบเล็ก ได้แก่ มะขาม ผักกระเฉด ไมยราบ ขี้เหล็ก มะรุม
· กลุ่มที่ 2 พืชที่มีใบใหญ่ ได้แก่ บัว กล้วย สัก หูกวาง บอน
4) ใช้ดอกเป็นเกณฑ์ เช่น ดอกเล็ก ดอกใหญ่
· กลุ่มที่ 1 พืชที่มีดอกเล็ก ได้แก่ รัก เข็ม แก้ว พิกุล มะลิ
· กลุ่มที่ 2 พืชที่มีดอกใหญ่ ได้แก่ กุหลาบ ทานตะวัน บัว ชบา พุทธรักษา
5) ใช้ผลเป็นเกณฑ์ เช่น ผลกลม ผลไม่กลม
· กลุ่มที่ 1 พืชที่มีผลกลม ได้แก่ ลำไย ส้ม แตงโม พุทรา องุ่น
· กลุ่มที่ 2 พืชที่มีผลไม่กลม ได้แก่ ชมพู่ ทุเรียน มะเฟือง มะม่วง มะละกอ
นอกจากใช้โครงสร้างภายนอกของพืชเป็นเกณฑ์แล้ว ยังสามารถจำแนกโดยใช้แหล่งที่พืชขึ้นอยู่เป็นเกณฑ์ได้ เช่น พืชที่ขึ้นบนบก พืชที่ขึ้นในน้ำ พืชที่ขึ้นบนต้นไม้อื่น
· กลุ่มที่ 1 พืชที่ขึ้นบนบก ได้แก่ มะขาม ขนุน กล้วย ไผ่ ข้าวโพด
· กลุ่มที่ 2 พืชที่ขึ้นในน้ำ ได้แก่ จอก แหน บัว ผักกระเฉด ผักตบชวา
· กลุ่มที่ 3 พืชที่ขึ้นบนต้นไม้อื่น ได้แก่ กล้วยไม้ กาฝาก เฟิร์น
4. การจำแนกสัตว์
สัตว์ในท้องถิ่น มีทั้งลักษณะที่เหมือนกัน และแตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำมาจำแนกโดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์
1) ใช้จำนวนขาเป็นเกณฑ์ เช่น ไม่มีขา มี 2 ขา มีมากกว่า 4 ขา
· กลุ่มที่ 1 สัตว์ไม่มีขา ได้แก่ หอยทาก ไส้เดือน ปลา หนอน งู
· กลุ่มที่ 2 สัตว์ 2 ขา ได้แก่ ไก่ เป็ด นก
· กลุ่มที่ 3 สัตว์ 4 ขา ได้แก่ ช้าง ม้า วัว สุนัข เต่า เสือ
· กลุ่มที่ 4 สัตว์ที่มีมากกว่า 4 ขา ได้แก่ มด ผีเสื้อ แมงมุม แมงป่อง ตะขาบ
2) ใช้ปีกเป็นเกณฑ์ เช่น มีปีก ไม่มีปีก
· กลุ่มที่ 1 สัตว์มีปีก ได้แก่ นก ไก่ เป็น ผีเสื้อ ค้างคาว
· กลุ่มที่ 2 สัตว์ไม่มีปีก เช่น หนู กบ แมว กวาง จิ้งจก
นอกจากใช้โครงสร้างภายนอกของสัตว์เป็นเกณฑ์แล้ว ยังสามารถจำแนกสัตว์โดยใช้เกณฑ์อื่นเป็นเกณฑ์ ดังนี้
1) ใช้แหล่งที่อยู่เป็นเกณฑ์ เช่น สัตว์ที่อยู่บนบก สัตว์ที่อยู่ในน้ำ
· กลุ่มที่ 1 สัตว์ที่อยู่บนบก ได้แก่ นก แมว แมลงปอ ลิง ช้าง
· กลุ่มที่ 2 สัตว์ที่อยู่ในน้ำ ได้แก่ ปลา ปู กุ้ง หอย แมงกะพรุน
2) ใช้ประเภทอาหารที่สัตว์กินเป็นเกณฑ์ เช่น สัตว์กินพืช สัตว์กินสัตว์ สัตว์กินทั้งพืชและสัตว์
· กลุ่มที่ 1 สัตว์กินพืช ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ควาย กวาง นกแก้ว
· กลุ่มที่ 2 สัตว์กินสัตว์ ได้แก่ เหยี่ยว นกอินทรี เสือ สิงโต จระเข้ กบ
· กลุ่มที่ 3 สัตว์กินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ ไก่ เป็ด สุนัข แมว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น