Download - เนื้อหา (PDF File)
ภาษาพาที - บทที่ 8 พูดเพราะ
|
หลักภาษาและการใช้ภาษา
พยัญชนะในบทเรียน
ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะได้รู้จักกับ พยัญชนะ 7 ตัว คือ (ตัวหนังสือหนาเอียง)
อักษรกลาง (9 ตัว)
|
ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
|
อักษรสูง (11 ตัว)
|
ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
|
อักษรต่ำ (24 ตัว)
|
ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
|
เวลาอ่านออกเสียงจะมี อ มาเป็นทุ่นให้เกาะ ดังนี้
ฐ ถ อ่านว่า ถอ
ฑ ฒ ธ ธ อ่านว่า ทอ
ช ฌ อ่านว่า ชอ
ค ฅ ฆ อ่านว่า คอ
ล ฬ อ่านว่า ลอ
ศ ษ ส อ่านว่า สอ
สระในบทเรียน
ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะได้รู้จักกับสระ 4 ตัว คือ
1) สระอำ (-ำ) เป็นสระเกิน (มีเสียงเหมือน สระอะ แล้วมี ม เป็นตัวสะกด) ใช้เขียนไว้บน และหลังพยัญชนะ เช่น กำ ขำ ดำ จำ ตำ ฯลฯ
2) สระเอา (เ-า) เป็นสระเกิน (มีเสียงเหมือนสระอะ แล้วมี ว เป็นตัวสะกด) ใช้เขียนไว้ไหน้า และหลังพยัญชนะ เช่น เรา เมา เขา เกา เตา ฯลฯ
3) สระเอะ (เ-ะ) เป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น ใช้เขียนไว้หน้าและหลังพยัญชนะ เช่น เละ เฟะ เตะ เบะ เหะ ฯลฯ (หากมีตัวสะกดรูป (-ะ) จะเปลี่ยนรูปเป็นไม้ไต่คู้ (-)เช่น เล็ง เต็ม เบ็ด เห็น เก็บ ฯลฯ)
4) สระแอะ (แ-ะ) เป็นสระเดี่ยว เสียงสั้น ใช้เขียนไว้หน้า และหลังพยัญชนะ เช่น แกะ และ แปะ แบะ แทะ ฯลฯ (หากมีตัวสะกดรูป (-ะ) จะเปลี่ยนรูปเป็นไม้ไต่คู้ (-) เช่น แบ็บ แย็บ แผล็บ แท็กซี่ ฯลฯ)
เครื่องหมายวรรคตอนในบทเรียน
เครื่องหมายวรรคตอน เป็นเครื่องหมายที่ใช้เขียนประกอบตัวอักษร ตัวเลข คำ วลี ประโยค หรือข้อความ เพื่อสื่อความหมายกับผู้อ่านว่าผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่าน อ่านข้อความนั้นอย่างไร
เครื่องหมายวรรคตอนในหนังไทยมีหลายอย่าง แต่ในระดับชั้นนี้ นักเรียนจะได้รู้จักกับเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง คือ เครื่องหมาย ไม้ยมก (ๆ) เป็นเครื่องหมายที่ใช้สำหรับ ซ้ำคำ ซ้ำข้อความ หรือประประโยค เช่น
เด็ก ๆ อ่านว่า เด็ก เด็ก (ใช้ซ้ำคำ)
ทีละคน ๆ อ่านว่า ทีละคน ทีละคน (ใช้ซ้ำข้อความ)
ไฟไหม้ ๆ อ่านว่า ไฟไหม้ ไฟไหม้ (ใช้ซ้ำประโยค)
การอ่านสะกดคำและแจกลูก
คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ ให้อ่าน พยัญชนะต้น + สระ à คำอ่าน ดังนี้
Download - เนื้อหา (PDF File)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น