Download - เนื้อหา (PDF File)
ภาษาพาที - บทที่ 11 ช้างน้อยน่ารัก
|
หลักภาษาและการใช้ภาษา
การผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ
ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ ซึ่งมีทั้งหมด 24 ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ เมื่ออักษรเหล่านี้ประสมกับสระ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสระเสียงสั้น หรือสระเสียงยาวก็จะมีเสียงวรรณยุกต์กำกับอยู่แล้วทุกคำ ซึ่งเราเรียกกันว่า “พื้นเสียงของคำ” เช่น
ดังนั้น การผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ ให้นักเรียนศึกษาจากตารางต่อไปนี้
หมู่อักษร
|
เสียงสระ
|
คำ
|
รูป/เสียงวรรณยุกต์
| ||||
สามัญ
|
เอก
|
โท
|
ตรี
|
จัตวา
| |||
อักษรต่ำ
ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ว ฬ ฮ
|
สั้น
|
ค่ะ
|
-
|
-
|
ค่ะ
|
คะ
|
-
|
โนะ
|
-
|
-
|
โน่ะ
|
โนะ
|
-
| ||
ยาว
|
น้า
|
นา
|
-
|
น่า
|
น้ำ
|
-
| |
แล่
|
แล
|
-
|
แล่
|
แล้
|
-
|
การอ่านสะกดคำและแจกลูก
การอ่านคำที่ผันวรรณยุกต์ให้อ่านดังนี้
ตัวสะกดในบทเรียน
ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะได้รู้จักกับตัวสะกด 3 แม่ (มาตรา) คือ
1) แม่กม ซึ่งมี ม เป็นตัวสะกดเพียงตัวเดียว เช่น ขม ชิม เดิม ตอม รุม ฯลฯ
2) แม่เกย ซึ่งมี ย เป็นตัวสะกดเพียงตัวเดียว เช่น คุย ยาย เปรย โรย เนือย ฯลฯ
3) แม่เกอว ซึ่งมี ว เป็นตัวสะกดเพียงตัวเดียว เช่น ผิว ขาว เรียว เลว แจว ฯลฯ
การอ่านสะกดคำและแจกลูก
คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ให้อ่าน พยัญชนะต้น + สระ + ตัวสะกด à คำอ่าน ดังนี้
คำที่มีรูปวรรณยุกต์กำกับให้อ่าน พยัญชนะต้น + สระ + ตัวสะกด à คำ + วรรณยุกต์ à คำอ่าน ดังนี้
สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และสัญญาณ
สัญลักษณ์ คือ สิ่งที่กำหนดกันขึ้น เพื่อให้ใช้ความหมายแทนที่อีกสิ่งหนึ่ง เช่น + - x ÷ (เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์) หรือตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนคำพูด เป็นต้น
เครื่องหมาย คือ สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ เช่น x = ? ! เป็นต้น
สัญญาณ คือ เครื่องหมาย หรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยิน เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือหรือกระทำตามที่บอก เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง การตีระฆัง การสั่นกระดิ่ง การตีฆ้อง เป็นต้น
Download - เนื้อหา (PDF File)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น