คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาภาษาไทย - ภาษาพาที - บทที่ 9 เกือบไป (หลักภาษาและการใช้ภาษา) |
หลักภาษาและการใช้ภาษา
พยัญชนะในบทเรียน
นักเรียนได้เรียนรู้พยัญชนะในภาษาไทยทั้ง 44 ตัว ครบหมดแล้ว ดังนี้ ก ข ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ
ทุกตัวเวลาอ่านออกเสียงจะมี อ มาเป็นทุ่นให้เกาะทั้งสิ้น
สระในบทเรียน
ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะได้รู้จักกับสระ 6 ตัว คือ
1) สระโอะ (โ-ะ) เป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น ใช้เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เช่น โปะ โละ โฮะ โชะ โสะ ฯลฯ (หากมีตัวสะกด รูป (โ-ะ) จะหายไป เช่น มด รก ซบ งง จม น ฯลฯ)
2) สระเอาะ (เ-าะ) เป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น ใช้เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เช่น เพาะ เกาะ เลาะ เมาะ เยาะ ฯลฯ
3) สระออ (-อ) เป็นสระเดี่ยวเสียงยาว ใช้เขียนไว้หลังพยัญชนะ เช่น กอ จอ ปอ หอ งอ ฯลฯ (หากมีตัวสะกด จะมีทั้งคงรูป (อ) ไว้ เช่น นอนอ ตอน บอน สอน จอน ฯลฯ และรูป (อ) หายไป เช่น พร กร นร วร กร ฯลฯ)
4) สระเออะ (เ-อะ) เป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น ใช้เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เช่น เจอะ เลอะ เนอะ เยอะ เชอะ ฯลฯ (หามีตัวสะกดรูป (-ะ) จะเปลี่ยนรูปเป็น (-) เช่น เงิน เลิ่กลัก เยิ่นเย้อ ฯลฯ)
5) สระเออ (เ-อ) เป็นสระเดี่ยวเสียงยาว ใช้เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เช่น เจอ เรอ เธอ เบอ เกอ ฯลฯ (หากมีตัวสะกดรูป (อ) จะเปลี่ยนรูปเป็น (-) เช่น เจิง เริง เกิน เดิน เมิน ฯลฯ)
6) สระเอ (เ-อ) เป็นสระประสมเสียงยาว (เกิดจาก สระอือ ประสมกับ สระอา) ใช้เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ เช่น เรือ เสือ เจือ เบือ เถือ ฯลฯ
เครื่องหมายวรรคตอนในบทเรียน
ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะได้รู้จักกับเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทยอีกชนิดหนึ่ง คือ เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) (อ่านว่า อัด – สะ – เจ – รี) หรือ เครื่องหมายตกใจ ใช้เขียนกำกับไว้หลังคำอุทาน เช่น โอ๊ย! อุ๊ย! โอ้โฮ! เอ๊ะ! โอ๋! ฯลฯ
การผันวรรณยุกต์อักษรกลาง
ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการผันวรรณยุกต์อักษรกลาง ซึ่งมีทั้งหมด 9 ตัว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ เมื่ออักษรเหล่านี้ประสมกับสระ ไม่ว่าจะเป็นสระเสียงสั้น หรือสระเสียงยาว ก็จะมีเสียงวรรณยุกต์กำกับอยู่แล้วทุกคำ ซึ่งเราเรียกกันว่า “พื้นเสียงของคำ” เช่น
หมู่อักษร
|
เสียงสระ
|
คำ
|
รูป/เสียงวรรณยุกต์
| ||||
สามัญ
|
เอก
|
โท
|
ตรี
|
จัตวา
| |||
อักษรกลาง
ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
|
สั้น
|
ปุ๊
|
-
|
ปุ
|
ปุ้
|
ปุ๊
|
(ปุ๋)
|
จ้ะ
|
-
|
จะ
|
จ้ะ
|
จ๊ะ
|
(จ่ะ)
| ||
ยาว
|
ก๋า
|
กา
|
ก่า
|
ก้า
|
ก๊า
|
ก๋า
| |
ตู้
|
ตู
|
ตู่
|
ตู่
|
ตู๊
|
ตู๋
|
*** หมายเหตุ คำใน ( ) ไม่มีใช้ในภาษาไทย แต่ใส่ไว้เพื่อให้รู้ว่าคำนี้ผันวรรณยุกต์รูปนี้หรือเสียงนี้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น