วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ (แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.1 - รวม 5 หน่วยการเรียนรู้ - 100 ข้อ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ (แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.1 - รวม 5 หน่วยการเรียนรู้ - 100 ข้อ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 5 - ท้องฟ้า และดวงดาว (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 5 - ท้องฟ้า และดวงดาว (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 5 - ท้องฟ้า และดวงดาว (แบบฝึกหัด)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 5 - ท้องฟ้า และดวงดาว (แบบฝึกหัด)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 5 - ท้องฟ้า และดวงดาว (สรุปเนื้อหา)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 5 - ท้องฟ้า และดวงดาว (สรุปเนื้อหา)
Download - เนื้อหา (PDF File)
Download - เนื้อหา (PDF File)
Download - เนื้อหา (PDF File)
บทที่ 5 ท้องฟ้า และดวงดาว
|
สรุปเนื้อหา
1. วัตถุบนท้องฟ้า
ในเวลากลางวัน เรามองเห็นดวงไฟส่งแสงร้อนแรง นั่นคือ ดวงอาทิตย์ ส่วนก้อนสีขาวคล้อยก้อนสำลีนั่นคือ ก้อนเมฆ
ดวงอาทิตย์ เป็นวัตถุทรงกลมขนาดใหญ่ มีความร้อนและแสงสว่างในตัวเอง คนใช้ประโยชน์จากดวงอาทิตย์ในการดำรงชีวิต คือ ช่วยในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ให้ความอบอุ่น และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ตากผ้า ตากอาหาร
ในเวลากลางคืน เรามองเห็นแสงกะพริบ ระยิบระยับ อยู่เต็มท้องฟ้า นั่นคือ ดวงดาว และบางวันก็เห็นดวงจันทร์ดวงใหญ่ส่องแสงนวล
ดวงจันทร์ เป็นวัตถุทรงกลมที่มีขนาดเล็กกว่าโลกของเรา ไม่มีความร้อนและแสงสว่างในตัวเอง เรามองเห็นดวงจันทร์ส่องสว่างเพราะว่าดวงจันทร์ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์แล้วสะท้อนมายังโลก
เรามองเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปทุกคืน บางคืนเห็นเป็นเสี้ยวบาง ๆ บางคืนเห็นครึ่งดวง บางคืนเห็นเต็มดวง
ดวงดาวที่เห็นบนท้องฟ้า แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) ดวงดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เรามองเห็นส่งแสงระยิบระยับ และกะพริบแสงตลอดเวลา เช่น ดาวลูกไก่ ดาวเหนือ ดาวจระเข้
2) ดวงดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เรามองเห็นส่องแสงนวล ไม่กะพริบแสง เนื่องจากได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับโลก เช่น ดาวพุทธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี
2. การบอกทิศ
ทิศ คือ สิ่งที่ช่วยบอกด้าน ข้าง ทาง ทิศที่สำคัญ มี 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก
ในเวลาเช้า เราหันหน้าไปทางที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า ด้านหน้าเราคือทิศตะวันออก ด้านหลังเราคือ ทิศตะวันตก ด้านซ้ายมือเราคือทิศเหนือ และด้านขวามือเราคือทิศใต้
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 4 - ของเล่น ของใช้ (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 4 - ของเล่น ของใช้ (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 4 - ของเล่น ของใช้ (แบบฝึกหัด)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 4 - ของเล่น ของใช้ (แบบฝึกหัด)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 4 - ของเล่น ของใช้ (สรุปเนื้อหา)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 4 - ของเล่น ของใช้ (สรุปเนื้อหา)
Download - เนื้อหา (PDF File)
สรุปเนื้อหา
Download - เนื้อหา (PDF File)
Download - เนื้อหา (PDF File)
บทที่ 4 ของเล่น ของใช้
|
สรุปเนื้อหา
1. รู้จักของเล่น ของใช้
ของเล่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน มีมากมายหลายอย่าง สามารถบอกได้ว่า อะไรคือของเล่น อะไรคือของใช้
ของเล่น คือ สิ่งของที่ช่วยให้ผู้เล่นได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เช่น ตุ๊กตา หุ่นยาง ปืนฉีดน้ำ รถเด็กเล่น รถบังคับวิทยุ ว่าว ลูกโป่ง เป็นต้น
ของใช้ คือ สิ่งของสำหรับใช้งาน เช่น ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด สมุด แก้วน้ำ ขวดน้ำ โต๊ะ เก้าอี้ จาน ชาม กระเป๋า เสื้อ กางเกง รองเท้า เป็นต้น
2. สมบัติของวัสดุ
เราเรียกสิ่งของต่าง ๆ ทั้งของเล่น ของใช้ว่า วัตถุ และเรียกสิ่งที่ใช้ทำของเล่น ของใช้ ว่า วัสดุ
วัสดุมีหลายชนิด เช่น ไม้ กระดาษ ยาง ผ้า โลหะ แก้ว พลาสติก
วัสดุที่ใช้ทำของเล่น ของใช้ ในชีวิตประจำวันอาจมีรูปร่าง สี ขนาด พื้นผิว ความแข็งแตกต่างกัน
เราเรียกลักษณะของวัสดุ เช่น รูปร่าง สี ขนาด พื้นผิว และความแข็งว่า สมบัติของวัสดุ
3. การจำแนกวัสดุ
ลักษณะ หรือสมบัติของวัสดุ สามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกวัสดุที่ใช้ทำของเล่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวอย่างการจำแนกของเล่น ของใช้
1) ใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์
กลุ่มที่ 1 เป็นทรงกลม ได้แก่ ลูกบอล ลูกปิงปอง ลูกแก้ว
กลุ่มที่ 2 ไม่เป็นทรงกลม เช่น ตุ๊กตา รถเด็กเล่น หมอน กล่องใส่ของ ถุงเท้า
2) ใช้พื้นผิวเป็นเกณฑ์
กลุ่มที่ 1 ผิวเรียบ เช่น กระดาษ แก้ว กระจก จาน
กลุ่มที่ 2 ผิวหยาบ เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อยีนส์ กระดาษทราย ฟองน้ำ
4. การดึง การผลัก
การดึง การผลัก เป็นการออกแรงกระทำกับวัตถุ ซึ่งอาจทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
การบีบ บิด ดัด ดึง และการผลักวัตถุต่าง ๆ จะต้องมีการออกแรง
วัตถุมีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ เมื่อออกแรงผลักหรือดึงวัตถุ
1) เมื่อออกแรงผลัก หรือดึงวัตถุที่หยุดนิ่ง วัตถุจะเปลี่ยนจากหยุดนิ่งเป็นเคลื่อนที่
2) เมื่อออกแรงผลักหรือดึงวัตถุในทิศทางเดียวกันกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ วัตถุจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น ช้าลง และหยุดนิ่ง
3) เมื่ออกแรงผลักหรือดึงวัตถุในทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วัตถุจะหยุดเคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนทิศทาง
วัตถุมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง เมื่อออกแรงบีบ บิด ทุบ ดัด หรือดึงวัตถุ
Download - เนื้อหา (PDF File)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 3 - ร่างกายของเรา (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 3 - ร่างกายของเรา (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 3 - ร่างกายของเรา (แบบฝึกหัด)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 3 - ร่างกายของเรา (แบบฝึกหัด)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 3 - ร่างกายของเรา (สรุปเนื้อหา)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 3 - ร่างกายของเรา (สรุปเนื้อหา)
Download - เนื้อหา (PDF File)
Download - เนื้อหา (PDF File)
บทที่ 3 ร่างกายของเรา
|
สรุปเนื้อหา
1. อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะ
อวัยวะภายนอกของมนุษย์ มีหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ตา ใช้มองสิ่งต่าง ๆ
- หู ใช้ฟังเสียง
- จมูก ใช้ดมกลิ่นและหายใจ
- ปาก ใช้พูดและรับประทานอาหาร
- มือ ใช้หยิบจับสิ่งของ
- เท้า ใช้เดินและรับน้ำหนักตัว
อวัยวะของร่างกายมีการทำงานสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น
1) ขณะหยิบจับสิ่งของ ต้องใช้ตามองสิ่งของที่จะหยิบ และใช้มือหยิบสิ่งของ
2) การร้องเพลง ต้องใช้ตามองเนื้อเพลง ใช้หูฟังเสียงดนตรี และใช้ปากเปล่งเสียออกมา
2. การดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย
อวัยวะของร่างกาย มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต จึงต้องดูแลรักษาความสะอาดร่างกายของตนเอง ดังนี้
1) ล้างมือล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ ล้างหน้าด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง
2) แปรงฟันอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้าหลังตื่นนอน และเวลาเย็นก่อนเข้านอนบ้วนปากด้วยน้ำสะอาด เช็ดปากให้แห้ง
3) ใช้ผ้า หรือสำลีเช็ดรอบดวงตา ใบหู และจมูกให้แห้งหลังอาบน้ำ
4) ใช้ยาสระผม ทำความสะอาดเส้นผม ล้างผมด้วยน้ำสะอาด และใช้ผ้าเช็ดให้ห้งแล้วหวีผมให้เรียบร้อย
5) อาบน้ำทำความสะอาดตัวหลังเล่น และหลังออกกำลังกายเพื่อชำระล้างเหงื่อไคล และสิ่งสกปรกออก
3. การป้องกันอวัยวะ
อวัยวะของร่างกายมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต จึงควรป้องกันไม่ให้อวัยวะได้รับอันตราย ดังนี้
1) วิธีป้องกันดวงตา คือ ไม่ขยี้ตาเมื่อมีฝุ่นปลิวเข้าตา ให้ใช้วิธีลืมตาในน้ำสะอาด ไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น อ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และไม่อ่านหนังสือบนรถขณะรถวิ่ง หรือบนเรือขณะเรือแล่นอยู่
2) วิธีป้องกันหู คือ ไม่ใช้ของแข็งแคะหู ไม่สั่งน้ำมูกแรง ๆ และไม่ควรอยู่ในที่ที่มีเสียงดังอีกทึกนาน ๆ
3) วิธีป้องกันจมูก คือ ไม่ใช่ของแข็งหรือนิ้วมือแคะจมูก ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีฝุ่นละอองมาก ถ้าจำเป็นต้องผ่านบริเวณนั้น ให้เอาผ้าปิดจมูก
4) วิธีป้องกันปากและฟัน คือ ไม่ลืมแปรงฟัน ไม่กัดปากถุงขนม ไม่เคี้ยวขนม หรืออาหารที่เหนียวเคี้ยวยาก
5) วิธีป้องกันมือและเท้า คือ ไม่กัดเล็บมือ ควรใช้ที่ตัดเล็บ และควรตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ ไม่อมนิ้วมือ ไม่ปล่อยให้มือและเท้าสกปรก ควรล้างมือล้างเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ และเมื่อออกนอกบ้านให้สวมรองเท้า
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 2 - พืชและสัตว์รอบตัว (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 2 - พืชและสัตว์รอบตัว (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 2 - พืชและสัตว์รอบตัว (แบบฝึกหัด)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 2 - พืชและสัตว์รอบตัว (แบบฝึกหัด)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 2 - พืชและสัตว์รอบตัว (สรุปเนื้อหา)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชาวิทยาศาสตร์ บทที่ 2 - พืชและสัตว์รอบตัว (สรุปเนื้อหา)
Download - เนื้อหา (PDF File)
Download - เนื้อหา (PDF File)
บทที่ 2 พืชและสัตว์รอบตัวเรา
|
สรุปเนื้อหา
1. โครงสร้างภายนอกของพืช
โครงสร้างภายของของพืช ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล แต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
1) ราก ทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ
2) ลำต้น ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และธาตุอาหารจากรากไปยังส่วนต่าง ๆ
3) ใบ ทำหน้าที่สร้างอาหารและหายใจ
4) ดอก ทำหน้าที่สืบพันธุ์
5) ผล ทำหน้าที่ขยายพันธุ์
พืชแต่ละชนิดมีโครงสร้างเหมาะสมกับแหล่งที่พืชขึ้นอยู่ ดังนี้
พืชที่ขึ้นบนบก มีลำต้นและรากหยั่งลึกลงไปในดิน เพื่อยึดลำต้นติดกับดินไม่ให้โค่นล้ม เช่น มะม่วง มะขาม กล้วย อ้อย ข้าว กุหลาบ ชบา กระถิน ฯลฯ
พืชที่ขึ้นในน้ำ มีราก หรือลำต้นที่มีลักษณะช่วยให้ลอยน้ำได้ คือ มีใบพองออก มีก้านใบเป็นโพรงอากาศ มีทุ่นลอยหุ้มลำต้น เช่น บัว ผักตบชวา ผักกระเฉด จอก ฯลฯ
2. โครงสร้างภายนอกของสัตว์
โครงสร้างภายนอกของสัตว์ ได้แก่ ตา หู จมูก ปาก เขา เท้า แต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
1) ตา ทำหน้าที่ในการมองเห็น
2) หู ทำหน้าที่รับฟังเสียง
3) จมูก ทำหน้าที่ดมกลิ่นและหายใจ
4) ปาก ทำหน้าที่กินอาหาร
5) เท้าและขา ทำหน้าที่เคลื่อนไหว
6) ผิวหนัง ทำหน้าที่ห่อหุ้มร่างกาย
สัตว์แต่ละชนิด มีโครงสร้างของร่างกาย เหมาะสมกับแหล่งที่มันอาศัยอยู่ ดังนี้
1) สัตว์ที่อยู่บนบก มีขาและเท้าสำหรับ เดิน วิ่ง กระโดด เช่น ม้า วัว กระต่าย แมว สุนัข สัตว์บางชนิดมีนิ้วช่วยจับอาหาร เช่น ลิง หนู กระรอก สัตว์บางชนิดมีปีกสำหรับบินเคลื่อนที่ในอากาศ เช่น นกต่าง ๆ
2) สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีรูปร่างเพรียว มีครีบช่วยในการว่ายในน้ำ เช่น ปลา กุ้ง
3. การจำแนกพืช
พืชในท้องถิ่นมีทั้งลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำมาจำแนกโดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์
ตัวอย่างเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกพืช
1) ใช้รากเป็นเกณฑ์ เช่น รากฝอย รากแก้ว
· กลุ่มที่ 1 พืชที่มีรากแก้ว ได้แก่ มะม่วง มะเขือ พริก ตำลึก ถั่ว
· กลุ่มที่ 2 พืชที่มีรากฝอย ได้แก่ อ้อย ข้าว ตะไคร้ หญ้า ไผ่
2) ใช้ลำต้นเป็นเกณฑ์ เช่น ลำต้นตั้งตรง ลำต้นเป็นเถาเลื้อย
· กลุ่มที่ 1 พืชที่มีลำต้นตั้งตรง ได้แก่ กุหลาบ ชบา มะพร้าว ไผ่ ข้าวโพด
· กลุ่มที่ 2 พืชที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย ได้กา บวบ ตำลึง ฟักทอง มะระ แตงโม
3) ใช้ใบเป็นเกณฑ์ เช่น ใบเล็ก ใบใหญ่
· กลุ่มที่ 1 พืชที่มีใบเล็ก ได้แก่ มะขาม ผักกระเฉด ไมยราบ ขี้เหล็ก มะรุม
· กลุ่มที่ 2 พืชที่มีใบใหญ่ ได้แก่ บัว กล้วย สัก หูกวาง บอน
4) ใช้ดอกเป็นเกณฑ์ เช่น ดอกเล็ก ดอกใหญ่
· กลุ่มที่ 1 พืชที่มีดอกเล็ก ได้แก่ รัก เข็ม แก้ว พิกุล มะลิ
· กลุ่มที่ 2 พืชที่มีดอกใหญ่ ได้แก่ กุหลาบ ทานตะวัน บัว ชบา พุทธรักษา
5) ใช้ผลเป็นเกณฑ์ เช่น ผลกลม ผลไม่กลม
· กลุ่มที่ 1 พืชที่มีผลกลม ได้แก่ ลำไย ส้ม แตงโม พุทรา องุ่น
· กลุ่มที่ 2 พืชที่มีผลไม่กลม ได้แก่ ชมพู่ ทุเรียน มะเฟือง มะม่วง มะละกอ
นอกจากใช้โครงสร้างภายนอกของพืชเป็นเกณฑ์แล้ว ยังสามารถจำแนกโดยใช้แหล่งที่พืชขึ้นอยู่เป็นเกณฑ์ได้ เช่น พืชที่ขึ้นบนบก พืชที่ขึ้นในน้ำ พืชที่ขึ้นบนต้นไม้อื่น
· กลุ่มที่ 1 พืชที่ขึ้นบนบก ได้แก่ มะขาม ขนุน กล้วย ไผ่ ข้าวโพด
· กลุ่มที่ 2 พืชที่ขึ้นในน้ำ ได้แก่ จอก แหน บัว ผักกระเฉด ผักตบชวา
· กลุ่มที่ 3 พืชที่ขึ้นบนต้นไม้อื่น ได้แก่ กล้วยไม้ กาฝาก เฟิร์น
4. การจำแนกสัตว์
สัตว์ในท้องถิ่น มีทั้งลักษณะที่เหมือนกัน และแตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำมาจำแนกโดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์
1) ใช้จำนวนขาเป็นเกณฑ์ เช่น ไม่มีขา มี 2 ขา มีมากกว่า 4 ขา
· กลุ่มที่ 1 สัตว์ไม่มีขา ได้แก่ หอยทาก ไส้เดือน ปลา หนอน งู
· กลุ่มที่ 2 สัตว์ 2 ขา ได้แก่ ไก่ เป็ด นก
· กลุ่มที่ 3 สัตว์ 4 ขา ได้แก่ ช้าง ม้า วัว สุนัข เต่า เสือ
· กลุ่มที่ 4 สัตว์ที่มีมากกว่า 4 ขา ได้แก่ มด ผีเสื้อ แมงมุม แมงป่อง ตะขาบ
2) ใช้ปีกเป็นเกณฑ์ เช่น มีปีก ไม่มีปีก
· กลุ่มที่ 1 สัตว์มีปีก ได้แก่ นก ไก่ เป็น ผีเสื้อ ค้างคาว
· กลุ่มที่ 2 สัตว์ไม่มีปีก เช่น หนู กบ แมว กวาง จิ้งจก
นอกจากใช้โครงสร้างภายนอกของสัตว์เป็นเกณฑ์แล้ว ยังสามารถจำแนกสัตว์โดยใช้เกณฑ์อื่นเป็นเกณฑ์ ดังนี้
1) ใช้แหล่งที่อยู่เป็นเกณฑ์ เช่น สัตว์ที่อยู่บนบก สัตว์ที่อยู่ในน้ำ
· กลุ่มที่ 1 สัตว์ที่อยู่บนบก ได้แก่ นก แมว แมลงปอ ลิง ช้าง
· กลุ่มที่ 2 สัตว์ที่อยู่ในน้ำ ได้แก่ ปลา ปู กุ้ง หอย แมงกะพรุน
2) ใช้ประเภทอาหารที่สัตว์กินเป็นเกณฑ์ เช่น สัตว์กินพืช สัตว์กินสัตว์ สัตว์กินทั้งพืชและสัตว์
· กลุ่มที่ 1 สัตว์กินพืช ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ควาย กวาง นกแก้ว
· กลุ่มที่ 2 สัตว์กินสัตว์ ได้แก่ เหยี่ยว นกอินทรี เสือ สิงโต จระเข้ กบ
· กลุ่มที่ 3 สัตว์กินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ ไก่ เป็ด สุนัข แมว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)