Blog เพื่อนการศึกษา
เนื้อหาใน blog นี้ เหมาะสำรับใช้เตรียมตัวสอบ ตลอดจนใช้เสริมพื้นฐานความรู้ให้แม่นยำ เพราะผู้จัดทำเชื่อเหลือเกินว่า ทำบ่อย ๆ ฝึกบ่อย ๆ จะทำให้เกิดเป็นความชำนาญ ทำให้เกิดความคุ้นเคย คุ้นชิน
สำหรับเนื้อหาต่าง ๆ ใน blog นี้ อาจจะยังไม่ครบทุกระดับชั้น เพราะผู้จัดทำ กำลังเก็บรวบรวม และทำแบบฝึกหัดขึ้นมาใหม่ อาจจะทำให้ล่าช้า ไปบ้าง ยังงัยก็ขออภัย แต่ในทุก ๆ วันจะพยายาม update ข้อสอบและแบบฝึกหัดใหม่ ๆ ให้
เลือกหัวข้อย่อยได้เลยค่ะ
วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558
วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558
***คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา***
***คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา***
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโต และพัฒนาการของมนุษย์
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเสร้างเสริมสุขภาพ
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
***คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา (ข้อสอบท้ายบทเรียน)***
***คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา (ข้อสอบท้ายบทเรียน)***
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - แนวข้อสอบปลายภาค (50 ข้อ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - แนวข้อสอบปลายภาค (50 ข้อ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต (สรุปเนื้อหา)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต (สรุปเนื้อหา)
Download - เนื้อหา (PDF File)
สรุปเนื้อหา
Download - เนื้อหา (PDF File)
Download - เนื้อหา (PDF File)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
|
สรุปเนื้อหา
1. สิ่งที่ทำให้เกิดอันตรายภายในบ้านและโรงเรียน
อันตรายภายในบ้าน มักเกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยในบ้าน ความประมาท และขาดความรอบคอบของผู้อยู่อาศัย
สาเหตุการเกิดอันตรายภายในบ้าน
1) วิ่งเล่นในบ้าน
2) วิ่งขึ้นลงบันได
3) ใช้เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด
4) เสียบปลั๊กไฟขณะมือเปียก
5) ใช้ของมีคมอย่างไม่ระวัง
วิธีป้องกันการเกิดอันตรายภายในบ้าน
1) ไม่ควรเล่นของมีคม เช่น มีด กรรไกร
2) ไม่ควรวิ่งเล่นในบ้าน เพราะอาจชนสิ่งของได้
3) ไม่ควรใช้นิ้วมือแหย่ปลั๊กไฟ เพราะจะถูกไฟฟ้าดูดได้
4) ถ้าพบเครื่องใช้ในบ้านชำรุด ควรแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบทันที
5) ไม่ควรปีนป่ายขึ้นไปบนที่สูง เพราะอาจพลัดตกลงมาได้
สาเหตุการเกิดอันตรายในโรงเรียน
1) การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์การเรียนการสอนที่ชำรุด
2) การวิ่งบนอาคารเรียนหรือในห้องเรียน
3) การวิ่งเล่นในสนาม
4) การป่านป่ายที่สูง เช่น ต้นไม้
วิธีป้องกันการเกิดอันตรายในโรงเรียน
1) ไม่ควรวิ่งเล่นบนอาคารเรียน
2) ถ้าพบอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ในโรงเรียนที่ชำรุด ให้รีบแจ้งครู
3) ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด
2. อันตรายจากการเล่น
สาเหตุของอุบัติเหตุจากการเล่น
1) เล่นบริเวณที่รกร้าง ใช้แม่น้ำ ใกล้สายไฟ
2) เล่นของเล่นแล้วไม่เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
3) เล่นวัตถุสิ่งของที่เป็นอันตราย เช่น ไม้ขีดไฟ มีด
การป้องกันอันตรายจากการเล่น
1) ควรเล่นในสถานที่ที่ปลอดภัย
2) ไม่ควรเล่นในสถานที่ที่อาจทำให้เกิดอันตราย
3) เมื่อเราเล่นของเล่นเสร็จแล้วต้องเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
4) ไม่ควรเล่นหรือหยิบจับวัตถุที่มีอันตราย
3. การขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุรายที่บ้านและโรงเรียน
การขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุร้ายที่โรงเรียน
1) รีบแจ้งให้คุณครูทราบโดยทันที
2) บอกสิ่งที่ต้องการขอความช่วยเหลือ
3) บอกสถานที่เกิดเหตุและอาการของผู้ได้รับบาดเจ็บ
การขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุร้ายที่บ้าน
1) รีบบอกพ่อแม่ในบ้านโดยทันที
2) บอกสิ่งที่ต้องการขอความช่วยเหลือ
3) บอกสถานที่เกิดเหตุและอาการของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
Download - เนื้อหา (PDF File)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค (สรุปเนื้อหา)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค (สรุปเนื้อหา)
Download - เนื้อหา (PDF File)
สรุปเนื้อหา
Download - เนื้อหา (PDF File)
Download - เนื้อหา (PDF File)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ
สมรรถภาพ และการป้องกันโรค
|
สรุปเนื้อหา
1. การปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ
สุขบัญญัติแห่งชาติ คือ ข้อกำหนดทั่วไปที่ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นกิจนิสัย
สุขบัญญัติแห่งชาติ มีดังนี้
1) รักษาร่างกาย และของใช้ให้สะอาด
2) รักษาฟัน และแปรงฟันทุกวัน
3) ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหาร และหลังขับถ่าย
4) กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย
5) งดบุหรี่ สุรา สารเสพติด
6) สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น
7) ป้องกันอุบัติภัยด้วยความไม่ประมาท
8) ออกกำลังหายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี
9) ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
10) สำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสรรค์สังคม
2. ลักษณะอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเอง
อาการเจ็บป่วย และโรค เกิดจากเชื่อโรค หรือมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดี เช่น ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย ใช้มือสกปรกหยิบอาหารเข้าปาก เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างหาย จะทำให้เกิดอาการผิดปกติในร่างกาย เช่น
· การปวดศีรษะ มีหลายสาเหตุ อาจเกิดจากอากาศร้อน หรือร่างกายเปียกฝน
· ตัวร้อน เกิดจากการเป็นไข้ รู้สึกหนาวสั่น
· มีน้ำมูก เกิดจากการเป็นหวัด หรือเป็นภูมิแพ้
· ปวดท้อง มีหลายสาเหตุ อาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่เผ็ดเกินไป เป็นโรคกระเพาะ หรือรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
· ผื่นคัน มีหลายสาเหตุ อาจเกิดจากแมลงกัด ต่อย หรือเป็นภูมิแพ้
· ฟกช้ำ เกิดจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับแรงกระแทกโดยตรง ทำให้มีเลือดออกใต้ผิวหนังโดยไม่มีบาดแผล
3. วิธีปฏิบัติตนเมื่อมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเอง
การเจ็บป่วย หรือโรคบางชนิดป้องกันได้ เช่น การดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย ฉีดวัคซีนป้องกันโรค แต่เราสามารถดูแลรักษาตนเองในเบื้องต้นได้ โดยการปฏิบัติดังนี้
ปวดศีรษะ
1) กินยาพาราเซตามอล
2) นอนพักผ่อนมาก ๆ
ตัวร้อน
1) ถ้ามีไข้สูง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดให้ทั่วตัว
2) ถ้ามีไข้สูงมาก ให้กินยาลดไข้
มีน้ำมูก
1) นอนพักผ่อน
2) ถ้ามีอาการคัดจมูก ให้สูดดมน้ำมันหอมระเหย
ปวดท้อง
1) ถ้าแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟือ ให้กินยาธาตุน้ำแพง
2) ไม่กินอาหารรสเผ็ดจัด ชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม
ผื่นคัน
1) ใช้น้ำเย็นประคบและทายาแก้ผื่นคัน
2) ไม่ควรเกา เพราะอาจยิ่งคัน และทำให้เกิดแผล
ฟกช้ำ
1) ใช้น้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบบริเวณที่ฟกช้ำ
2) ในระยะหลัง 24 ชั่วโมง ใช้ผ้าชุบน้ำร้อนประคบ และคลึงบริเวณที่ฟกช้ำ
Download - เนื้อหา (PDF File)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล (สรุปเนื้อหา)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล (สรุปเนื้อหา)
Download - เนื้อหา (PDF File)
Download - เนื้อหา (PDF File)
Download - เนื้อหา (PDF File)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย
การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
|
สรุปเนื้อหา
1. การเคลื่อนไหวร่างกาย
การเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน ควรปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี
1) การนั่ง ศีรษะตั้งตรง ลำตัวตั้งตรง วางมือตามสบาย ขาชิดติดกัน
2) การเดิน ศีรษะตั้งตรง ลำตัวตั้งตรง แกว่งแขนให้สัมพันธ์กับการก้าวเท้า และก้าวเท้าให้สม่ำเสมอ ปลายเท้าขนานกัน
3) การยืน ศีรษะตั้งตรง ลำตัวตั้งตรง ขาตรงชิดติดกัน ปลายเท้าแยกออกเล็กน้อย
การเคลื่อนไหวร่างกายแบบอยู่กับที่
การนั่งรูปตัววี นั่งเหยียดขาตรง ยกขาทั้งสองข้างขึ้น แล้วเอามือจับไว้ ทำค้างไว้ชั่วขณะหนึ่ง
ยืนบริหารเอว ยืนแยกเท้า มือเท้าเอว แล้วหมุนเอวไปมา หมุนทางขวา และหมุนทางซ้ายสลับกันไปมา
การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
เดินตรงไปข้างหน้า เดินด้วยปลายเท้าไปข้างหน้า แกว่งแขนซ้ายไปข้างหน้าขณะก้าวเท้าขวา และแกว่งแขนขวาไปข้างหน้า ขณะก้าวเท้าซ้าย
วิ่งตรงไปข้างหน้า วิ่งตรงไปข้างหน้า และแกว่งแขนไปข้างหน้า และข้างหลังสลับกัน
กระโดดหมุน ยืนย่อเข่าจากนั้นกระโดดหมุนตัวไปทางด้านหลัง
การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
โยนลูกบอลสองมือ ยืนถือลูกบอลด้วยมือทั้ง 2 ข้าง แล้วโยนลูกบอลขึ้นข้างบน และรับด้วยมือทั้ง 2 ข้าง
เตะลูกบอลไปข้างหน้า ให้ใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งเตะลูกบอลไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดที่กำหนด
กลิ้งลูกบอลไปข้างหน้า ยืนถือลูกบอลไว้ แล้วก้มตัวลงวางลูกบอลไว้ที่พื้น จากนั้นกลิ้งลูกบอลไปข้างหน้าจนถึงจุดที่กำหนด
2. เกมเบ็ดเตล็ด
1) เกมลูกบอลพิษ (เตรียมลูกบอล 2 ลูก)
วิธีเล่น
(1) ให้นักเรียนยืนเข้าแถวเป็นรุปวงกลมให้ห่างกัน 2 ช่วงแขน แล้วเลือกผู้ออกคำสั่งมา 1 คน
(2) เริ่มเล่นโดยเลือกนักเรียน 2 คน ถือลูกบอลแล้วส่งต่อ ๆ ไปทางซ้ายมือ ถ้าทำลูกบอลตกให้เก็บขึ้นมาใหม่ แล้วรีบส่งต่อ
(3) เมื่อได้ยินคำสั่ง “หยุด” ให้หยุดส่งลูกบอลทันที
(4) ถ้าลูกบอลอยู่ในมือใคร คนนั้นต้องออกจากการเล่น
2) เกมไล่จับ
วิธีเล่น
(1) ขีดเส้นวงกลม 1 วง แล้วให้เลือกนักเรียน 1 คน เป็นผู้ไล่จับ แล้วผู้เล่นที่เหลือเป็นผู้หนี
(2) ให้ผู้เล่นทุกคนยืนอยู่ในวงกลม เริ่มเล่นโดยให้ผู้เล่นที่เหลือเป็นผู้หนี พยายามวิ่งหนี แล้วคนไล่พยายามวิ่งไล่จับคนหนีให้ได้ โดยให้ผู้เล่นวิ่งหนีอยู่ในวงกลมเท่านั้น
(3) ถ้าผู้เล่นคนใดถูกจับได้ ต้องออกจากการเล่น แล้วผู้เล่นที่เหลือเป็นคนสุดท้าย เป็นผู้ชนะ
Download - เนื้อหา (PDF File)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว (แบบทดสอบ)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว (สรุปเนื้อหา)
คู่มือเตรียมสอบ ป.1 - วิชา สุขศึกษา และพลศึกษา - หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว (สรุปเนื้อหา)
Download - เนื้อหา (PDF File)
Download - เนื้อหา (PDF File)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
|
สรุปเนื้อหา
1. สมาชิกในครอบครัว
ครอบครัว ประกอบด้วยสมาชิก คือ พ่อ แม่ ลูก หรือญาติผู้ใหญ่ ได้แก่ พ่อของพ่อ เรียกว่าปู แม่ของพ่อ เรียกว่าย่า พ่อของแม่ เรียกว่า ตา แม่ของแม่ เรียกว่ายาย พี่ชายของพ่อและแม่เรียกว่า ลุง พี่สาวของพ่อและแม่ เรียกว่า ป้า น้องของพ่อ เรียกว่า อา น้องของแม่ เรียกว่าน้า
สมาชิกของครอบครัวทุกคนต้องรู้จักปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ มีความรักใคร่สามัคคี เพื่อให้ครอบครัวมีความสุข ลูก ๆ ต้องรู้จักช่วยเหลือตนเอง เพื่อแบ่งเบาภาระของพ่อแม่
ความรักความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว
ถ้าทุกคนในครอบครัวสามารถแสดงความรักต่อกันด้วยการบอกรัก การโอบกอด หรือการจับมือให้กำลังใจ จะทำให้ครอบครัวมีความสุข
การแสดงความรักความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว
· พ่อแม่
1) เลี้ยงลูกให้เจริญเติบโต สุขภาพแข็งแรง
2) อบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี
3) กล่าวชมเชยเมื่อลูกทำความดี
· ลูก
1) เชื่อฟังพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่
2) ช่วยทำงานบ้าน แบ่งเบาภาระของพ่อแม่
3) พูดจาด้วยคำไพเราะอ่อนหวาน
2. สิ่งที่ชื่นชอบและความภาคภูมิใจในตนเอง
จุดดี คือ ลักษณะที่ดีของแต่ละคน เป็นสิ่งที่เราชื่นชอบและภาคภูมิใจ
จุดด้อย คือ ลักษณะที่ไม่ดีของแต่ละคน เป็นสิ่งที่เราไม่ชื่นชอบ และไม่ภาคภูมิใจ ซึ่งควรนำมาปรับปรุงแก้ไข
ทุกคนมีจุดดีและจุดด้อย การมีจุดดีเป็นสิ่งที่ทำให้เราชื่นชอบ และเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เพราะทำให้รู้สึกว่า เรามีคุณค่า จึงควรรักษาและสร้างเสริมจุดดีให้คงอยู่กับตัวเราตลอดไป ส่วนจุดด้อย ซึ่งบางอย่างเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่บางอย่างเราสามารถปรับปรุงแก้ไขได้
3. ลักษณะความแตกต่างของเพศชาย เพศหญิง
มนุษย์แบ่งได้เป็น 2 เพศ คือ เพศชาย และเพศหญิง ซึ่งแต่ละเพศ จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
เพศหญิง และเพศชาย จะมีลักษณะที่แตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้
ผู้หญิง
|
ผู้ชาย
|
· ด้านร่างกาย
มีร่างกายบอบบาง มีส่วนโค้ง ส่วนเว้า
· ด้านอารมณ์
อารมณ์อ่อนไหว
· ด้านลักษณะนิสัย
กิริยามารยาทเรียบร้อย
ชอบเล่นสิ่งของที่นุ่มนวล
|
ร่างกายบึกบึน
อารมณ์หนักแน่น
กิริยาท่าทางเข้มแข็ง
ชอบเล่นสิ่งที่โลดโผนและใช้กำลัง
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)